⚙️โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานเพื่อลดต้นทุนการผลิต
คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้จัดโครงการพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เพื่อสนองประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 เพื่อการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อลดต้นทุนการผลิต มีจำนวน 3 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 การวิเคราะห์พลังงานในต้นกำลังระบบไฮดรอลิคและกำหนดมาตรการในการอนุรักษ์พลังงาน กิจกรรมที่ 2 การวิเคราะห์ต้นทุนพลังงานในอุตสาหกรรมฉีดพลาสติกและแนวทางในการอนุรักษ์พลังงาน และกิจกรรมที่3ระบบควบคุมอัตโนมัติกับการอนุรักษ์พลังงานในอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร (Reskill/Upskill/Newskill)ให้มีความเชี่ยวชาญที่สูงขึ้นและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม ลักษณะการฝึกอบรมเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่บุคลากรให้แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม กลุ่มเป้าหมายคือ บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม จำนวน 30 คน โดยโครงการจัดขึ้นในวันที่ 26-28 สิงหาคม 2565 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา มี ดร.ธนาพล สุขชนะ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
กิจกรรมที่ 1 ในวันที่ 26 สิงหาคม 2565 อบรมหลักสูตรระบบควบคุมอัตโนมัติกับการอนุรักษ์พลังงานในอุตสาหกรรม เป้าหมายบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม จำนวน 10 คน เข้าร่วม 10 คน
กิจกรรมที่ 2 ในวันที่ 27 สิงหาคม 2565 อบรมหลักสูตรการวิเคราะห์ต้นทุนพลังงานในอุตสาหกรรมฉีดพลาสติกและแนวทางในการอนุรักษ์พลังงาน เป้าหมายบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม จำนวน 10 คน เข้าร่วม 16 คน
กิจกรรมที่ 3 ในวันที่ 28 สิงหาคม 2565 อบรมหลักสูตรวิเคราะห์พลังงานในต้นกำลังระบบไฮดรอลิค และกำหนดมาตรฐานและกำหนดมาตรการในการอนุรักษ์พลังงาน เป้าหมายบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม จำนวน 10 คน เข้าร่วม 28 คน
ในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมจำนวน 48 คน มีการทดสอบผู้เข้าร่วมโครงการหลังการอบรม ผู้ผ่านการทดสอบได้รับมอบเกียรติบัตรในการอบรม ผลสำรวจความพึงพอใจ พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานเพื่อลดต้นทุนการผลิต มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพิ่มขึ้น (SDGs) นับว่าเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 4 (Quality Education) โดยได้รับความร่วมมือจากบุคลากรภายใต้สังกัดคณะ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนรับทราบและเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน อันเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 4.3.3 (Vocational training events (lifelong learning) ของบุคคลทั่วไป ภายนอกมหาวิทยาลัย
ข้อมูลจาก : พรพรรณ สุขก้อน
จัดทำโดย : ดารุณี เวียงแกสินทรัพย์
Tag : #วศsdg4.3.1 #4.3.2 #4.3.3