⚙️โครงการพัฒนาทักษะด้านอุตสาหกรรมการผลิตและซ่อมบำรุงรักษาแม่พิมพ์ เพื่อการผลิตชิ้นส่วนรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต หลักสูตร “การซ่อมบำรุงและปรับปรุงประสิทธิภาพแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ”

⚙️โครงการพัฒนาทักษะด้านอุตสาหกรรมการผลิตและซ่อมบำรุงรักษาแม่พิมพ์  เพื่อการผลิตชิ้นส่วนรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตหลักสูตร “การซ่อมบำรุงและปรับปรุงประสิทธิภาพแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ”

          คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้จัดโครงการพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เพื่อสนองประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 เพื่อการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมจึงได้จัดโครงการพัฒนาทักษะด้านอุตสาหกรรมการผลิตและซ่อมบำรุงรักษาแม่พิมพ์เพื่อการผลิตชิ้นส่วนรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตหลักสูตร“การซ่อมบำรุงและปรับปรุงประสิทธิภาพแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ”เพื่อพัฒนาทักษะด้านอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตให้แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมและพัฒนาด้านการซ่อมบำรุงรักษาแม่พิมพ์ให้แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมลักษณะการฝึกอบรม เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการและให้คำปรึกษาและบริการวินิจฉัยปัญหาในโรงงานกลุ่มเป้าหมายคือ บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม จำนวน 25 คน โดยโครงการจัดขึ้นในวันที่ 17–20 สิงหาคม 2565 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา มีผู้ช่วยศาสตราจารย์พัชระ กัญจนกาญจน์ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

กิจกรรมในวันที่ 17 สิงหาคม 2565 บรรยายในหัวข้อพื้นฐานการซ่อมบำรุงและปรับปรุงประสิทธิภาพแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ/อบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อระบบการทำงานแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ หลักการตัดเฉือนเพื่อเป็นพื้นฐานการวิเคราะห์ปัญหา/เทคนิคการวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนแม่พิมพ์จากชิ้นงาน

กิจกรรมในวันที่ 18 สิงหาคม 2565 การอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ การตรวจสอบสภาพแม่พิมพ์ก่อนการถอดแยกชิ้นส่วน/การตรวจสอบสภาพเครื่องปั๊มประกอบการตรวจอาการแม่พิมพ์ และเทคนิคการถอดแม่พิมพ์เพื่อการซ่อมบำรุง
   

กิจกรรมในวันที่ 19 สิงหาคม 2565 การอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อเทคนิคการถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนแม่พิมพ์/เทคนิคการประแต่งแม่พิมพ์เพื่อลดต้นทุน


กิจกรรมในวันที่ 20 สิงหาคม 2565 การอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ เทคนิคเทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพแม่พิมพ์/คลินิกให้คำปรึกษาและบริการวินิจฉัยปัญหาในโรงงาน


          ในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมจำนวน 29 คน ผลสำรวจความพึงพอใจ พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพิ่มขึ้น (SDGs) นับว่าเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 4(Quality Education) โดยได้รับความร่วมมือจากบุคลากรภายใต้สังกัดคณะ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนรับทราบและเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน อันเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 4.3.3 (Vocational training events (lifelong learning) ของบุคคลทั่วไป ภายนอกมหาวิทยาลัย




ข้อมูลจาก : พรพรรณ  สุขก้อน

จัดทำโดย : ดารุณี เวียงแกสินทรัพย์



Tag : #วศsdg4.3.1 #4.3.2 #4.3.3





126 ครั้ง

Address
การให้บริการ

สถิติการเข้าชม
  • วันนี้ : 10 ครั้ง
  • เดือนนี้ : 2667 ครั้ง
  • ปีนี้ : 21464 ครั้ง
  • ทั้งหมด : 46630 ครั้ง
Follow Us

Copyright ©2020 GreenUniversity | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ