⚙️การอบรมเชิงปฏิบัติการงานสำรวจ ก่อสร้างและบำรุงรักษาบ่อน้ำบาดาลสำหรับเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้จัดโครงการบริการทางวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบหารายได้ คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ เพื่อสนองประเด็นยุทธศาสตร์ ของมหาวิทยาลัย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพมีความมั่นคงและบริหารจัดการตนเองได้ และประเด็นยุทธศาสตร์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยรองรับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน สนองพันธกิจของคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ เพื่อยกระดับชุมชนและสังคม จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการงานสำรวจ ก่อสร้าง และบำรุงรักษาบ่อน้ำบาดาล สำหรับเจ้าหน้าที่ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจการสำรวจแหล่งน้ำบาดาลเพื่อกำหนดจุดเจาะที่เหมาะสมได้ ตลอดจนสามารถวางแผนการตรวจรับงวดงาน การควบคุมการก่อสร้าง และบำรุงรักษา ภายใต้ พรบ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 ได้ ลักษณะการฝึกอบรม จะเป็นแบบบรรยายและฝึกปฏิบัติการสำรวจแหล่งน้ำบาดาล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดจุดเจาะที่เหมาะสม และประเมินวัดผลผู้เข้าอบรม กลุ่มเป้าหมายคือ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 20 คน โดยโครงการจัดขึ้นในวันที่ 17-18 กันยายน 2565 ณ อาคาร 4 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี มีอาจารย์ชนะรบ วิชาลัย เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
กิจกรรมในวันที่ 17 กันยายน 2565 บรรยายในหัวข้อเรื่องการสำรวจแหล่งบาดาลด้วยวิธีการ Dowsing การสำรวจด้วยวิธีการธรณีฟิสิกส์ ด้วยเครื่องมือวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะ (Electrical resistivity) และเครื่องมือสำรวจ ADMT/PQWT การก่อสร้างบ่อบาดาลและกฎหมายน้ำบาดาล การควบคุมงานก่อสร้างบ่อบาดาล การสูบทดสอบและการตรวจรับงาน
กิจกรรมในวันที่ 18 กันยายน 2565 เป็นการฝึกปฏิบัติการสำรวจแหล่งน้ำบาดาล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดจุดเจาะที่เหมาะสม/การฝึกปฏิบัติการตรวจสอบบ่อน้ำบาดาลด้วย TV Borehole
ในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมจำนวน 6 คน มีการทดสอบผู้เข้าร่วมโครงการหลังการอบรม ผู้ผ่านการทดสอบได้รับมอบเกียรติบัตรในการอบรมเชิงปฏิบัติการงานสำรวจ ก่อสร้าง และบำรุงรักษาบ่อน้ำบาดาล สำหรับเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผลสำรวจความพึงพอใจ พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพิ่มขึ้น (SDGs) นับว่าเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 4(Quality Education) โดยได้รับความร่วมมือจากบุคลากรภายใต้สังกัดคณะ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนรับทราบและเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน อันเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 4.3.3 (Vocational training events (lifelong learning) ของบุคคลทั่วไป ภายนอกมหาวิทยาลัย
ข้อมูลจาก : พรพรรณ สุขก้อน
จัดทำโดย : ดารุณี เวียงแกสินทรัพย์
Tag : #วศsdg4.3.2 #4.3.3