⚙️โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ตำบลราษฎร์นิยม (U2T for BCG) Ratniyom

⚙️โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ตำบลราษฎร์นิยม (U2T for BCG) Ratniyom

          ด้วยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ดำเนินโครงการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ โดยการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในสถาบันอุดมศึกษาไปขับเคลื่อนทั้งในภาคการผลิตและบริการในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานของบัณฑิตที่พึ่งจบการศึกษาและประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ตำบลลำโพ ในระหว่างเดือนกรกฎาคม –  กันยายน 2565 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการ ประชาชนในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลราษฎรนิยม และหน่วยงานราชการภายในพื้นที่

          จากการสำรวจข้อมูล และการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 (ดังแสดงภาพที่ 1) ณ ตำบลราษฎรนิยม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี โดยมีอาจารย์เบญจวรรณ ปานแม้น อาจารย์กมลวรรณ แสงธรรมทวี อาจารย์วราภรณ์ บุตรจันทร์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรม และสมาชิกโครงการU2T พบว่าผู้ประกอบ ผู้ประกอบการ ไข่เค็ม บ้านๆ ป้าอุไร และผู้ประกอบการยายแม้นขนมฉาบ ทั้งสองผลิตภัณฑ์ มีความต้องการที่จะพัฒนาป้ายสินค้าหรือโลโก้ และบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค้าให้แก่ผลิตภัณฑ์

          จากปัญหาและศักยภาพดังกล่าว โครงการนี้จึงมีแนวคิดในการศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อใช้ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ของผลิตภัณฑ์ ไข่เค็ม บ้านๆ ป้าอุไร และผลิตภัณฑ์ยายแม้นขนมฉาบ ที่สอดคล้องต่ออัตลักษณ์ของพื้นที่ และนำไปสู่การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ และทำการตลาดช่องทางออนไลน์เพื่อยกระดับสินค้าโดยการมีส่วนร่วมกับผู้ประกอบการ และการบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยมีรูปแบบการกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมที่ 1) การศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่น 2) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ที่เป็นอัตลัษณ์ของท้องถิ่น 3) วิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ และ 4) การทำการตลาดช่องทางออนไลน์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

กิจกรรมที่ 1 การศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่น จัดขึ้นในวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดยมีอาจารย์ผู้จัดการตำบล จากสาขาสถาปัตยกรรมและสาขาภูมิสถาปัตยกรรม ได้แก่ อาจารย์เบญจวรรณ ปานแม้น อาจารย์กมลวรรณ แสงธรรมทวี อาจารย์วราภรณ์ บุตรจันทร์ อาจารย์พรชัย โลหะพิริยกุล  และอาจารย์ณัชชา โลหะพิริยกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ และสมาชิกของโครงการ บรรยายในหัวข้อ การศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้แก่ผลิตภัณฑ์

          กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ที่เป็นอัตลัษณ์ของท้องถิ่น จัดขึ้นในวันที่ 4 กันยายน 2565  เป็นการอบรมในหัวข้อ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ที่เป็นอัตลัษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งมีคุณลัคนา ผากา และคุณ กัญญ์ณภัค ทรัพย์สมบูรณ์ เป็นวิทยากร โดยมีอาจารย์ผู้จัดการตำบล จากสาขาสถาปัตยกรรมและสาขาภูมิสถาปัตยกรรม ได้แก่ อาจารย์เบญจวรรณ ปานแม้น อาจารย์กมลวรรณ แสงธรรมทวี และอาจารย์วราภรณ์ บุตรจันทร์ รวมทั้งสมาชิกของโครงการU2T และผู้ประกอบการทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ คุณอำพร อ่อนรักษ์ และคุณเดือนเพ็ญ แก้ววงค์ษา ทั้งนี้ยังมีหน่วยงานของรัฐอันได้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลราษฎรนิยม เข้าร่วมรับฟังการอบรมในครั้งนี้ด้วย

 

กิจกรรมที่ 3 วิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ ไข่เค็ม บ้านๆ ป้าอุไร ยอดขายสินค้าต่อเดือน 18,000 บาท ต้นทุนการผลิต 6,200 บาท กำไรสุทธิ 11,800บาท หรือคิด ROI 27.44 % ยายแม้น ขนมฉาบยอดขายสินค้าต่อเดือน 15,000 บาท ต้นทุนการผลิต 5,120 บาท กำไรสุทธิ 9,880 บาท หรือคิด ROI 20.42%

กิจกรรมที่ 4 การทำการตลาดช่องทางออนไลน์        

          ตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 15 คนและจากผลสำรวจความพึงพอใจพบว่าผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพิ่มขึ้น (SDGs) นับว่าเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 17 (Partnerships for the Goals) กิจกรรมโครงการของตำบลราษฎร์นิยมดังกล่าวสามารถตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Goal) ได้แก่ 1) Zero Hunger ขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน  2) Responsible Consumption and Production รับรองแผนการบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน 3) Life on Land ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน 3) Peace and Justice Strong Institutions ส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนา ยั่งยืน ตลอดจนรับทราบและเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนอันเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยื่นข้อ 8 (Decent Work and Economic Growth) ส่งเสริม และผลักดันเศรษฐกิจ BCG ของพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อันเป็นการส่งเสริมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ของนักศึกษา บุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี

 

ขอขอบคุณ

- ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ ไข่เค็ม บ้านๆ ป้าอุไร และยายแม้น ขนมฉาบ นางอำพร อ่อนรักษ์ และ นางเดือนเพ็ญ แก้ววงค์ษา ตำบลราษฎร์นิยม จังหวัดนนทบุรี

ข้อมูลจาก : พรพรรณ  สุขก้อน

จัดทำโดย : ดารุณี เวียงแกสินทรัพย์



Tag : #วศsdg17.4.3 # 17.2.2





90 ครั้ง

Address
การให้บริการ

สถิติการเข้าชม
  • วันนี้ : 27 ครั้ง
  • เดือนนี้ : 3360 ครั้ง
  • ปีนี้ : 20737 ครั้ง
  • ทั้งหมด : 45903 ครั้ง
Follow Us

Copyright ©2020 GreenUniversity | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ