คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี ตั้งอยู่บนพื้นที่จังหวัดนนทบุรีโดยมีแหล่งท่องเที่ยวเกาะเกร็ด ซึ่งเป็นเกาะที่มีชื่อเสียงในจังหวัดนนทบุรีและเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะแหล่งชุมชน คนมอญที่มีชื่อเสียงในเรื่องของ เครื่องปั้นดินเผา และประเพณีวัฒนธรรมแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่ยังคงอนุรักษ์ไว้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาเที่ยวบนเกาะเกร็ด ก็จะมีทั้งมาเดินเที่ยว ซื้อของฝากของที่ระลึก และอาหารอร่อย ๆ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกนั่งเรือชมรอบเกาะ หรือเช่าจักรยานปั่นรอบเกาะสัมผัสวิถีชุมชนอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้บนเกาะเกร็ดยังมีชาติพันธุ์ต่าง ๆ ได้แก่ คนไทย คนมอญ คนมุสลิม ซึ่งมีวิถีชีวิต และความเชื่อ ประเพณี ความเป็นอยู่อาหารการกินที่แตกต่างกันไป สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการบริการเชิงนวัตกรรม ได้เห็นถึงความสำคัญของวิถีชีวิต วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในเกาะเกร็ด จึงได้จัดโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวเกาะเกร็ด เพื่อได้ให้นักศึกษาในสาขาวิชาฯ ได้ประสบการณ์ในการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมในพื้นที่ชุมชนอย่างแท้จริง และนักศึกษานำไปประยุกต์ใช้ในเรียนได้หลากหลายรายวิชาในหลักสูตร อีกทั้งเรียนรู้เพื่อประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต จึงได้ดำเนินการจัดโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเกาะเกร็ด ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 เพื่อเป็นการให้ความรู้วัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ของชุมชนในเกาะเกร็ด และส่งเสริมให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมและประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการท่องเที่ยว โดยโครงการดังกล่าวได้จัดขึ้น ณ โรงเรียนวัดปรมัยยิกาวาส และชุมชนตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเกาะเกร็ด จัดกิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้เรื่องการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวให้กับชุมชนเกาะเกร็ดและโรงเรียนวัดปรมัยยิกาวาส และกิจกรรมที่ 2 การออกแบบประสบการณ์การท่องเที่ยวในเกาะเกร็ด โดยผ่านวิถีวัฒนธรรมทั้งสามชาติพันธุ์บนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นการฝึกปฏิบัติและบรรยายในสถานที่จริง การต้อนรับและกล่าวอำลานักท่องเที่ยว กิจกรรมออกแบบประสบการณ์การท่องเที่ยวร่วมกันระหว่างนักเรียนโรงเรียนวัดปรมัยยิกาวาส และนักศึกษาสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการบริการเชิงนวัตกรรม ชั้นปีที่ 1 และ 2 โดยมี อาจารย์ ว่าที่ร้อยโท ธวัชชัย สิงห์สุภา หัวหน้าสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เป็นประธานเปิดโครงการ พร้อมด้วย อาจารย์ศุภชาติ เสถียรธนสาร อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษา และ อาจารย์ออมวจี พิบูลย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เข้าร่วมโครงการ โดยอาจารย์สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ศูนย์นนทบุรี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการและทำหน้าที่เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักศึกษาและบุคลากรในชุมชนเกาะเกร็ด
โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว จำนวน 84 คน ซึ่งแบ่งเป็นบุคลากรภายในคณะศิลปศาสตร์ นักศึกษา สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการบริการเชิงนวัตกรรม นักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า ตลอดจนผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการในชุมชนตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และผลความพึงพอใจพบว่าผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพิ่มขึ้น (SDGs) นับว่าเป็นความร่วมมือที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 17 (Partnerships for the Goals) โดยได้รับความร่วมมือจากบุคลากรภายใต้สังกัดคณะ และส่วนงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โรงเรียนวัดปรมัยยิกาวาส ตลอดจนชุมชนตำบลเกาะเกร็ด ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนรับทราบและเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน อันเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 4 (Quality Education) และโครงการดังกล่าวยังช่วยส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนผ่านกิจกรรมกิจกรรมการอบรมให้ความรู้เรื่องการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวให้กับชุมชนเกาะเกร็ดและโรงเรียนวัดปรมัยยิกาวาส และกิจกรรมการออกแบบประสบการณ์การท่องเที่ยวในเกาะเกร็ด โดยผ่านวิถีวัฒนธรรมทั้งสามชาติพันธุ์บนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 8 (Decent Work and Economic Growth) อีกด้วย
Tag : #ศศsdg4.3.3 #ศศsdg4.3.4 #ศศsdg17.2.1 #ศศsdg17.2.2