คณะศิลปศาสตร์ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

                    คณะศิลปศาสตร์ ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ให้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งเป็นนโยบายของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยเริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน รวมทั้งวิทยาลัยชุมชน ซึ่งกระจายทั่วทุกภูมิภาคที่มีความพร้อมทางด้านความรู้และความเชี่ยวชาญของบุคลากรและเทคโนโลยีได้ช่วยพัฒนาการเรียนการสอน ลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษา ให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขยายโอกาสในเขตพื้นที่ ตามความต้องการของโรงเรียน ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิเป็นสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายภาคกลางตอนบน ได้เข้าร่วมโครงการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 จนถึงปัจจุบันรวม 7 ปี มีผลการดำเนินงานและความสำเร็จในการช่วยพัฒนาครูให้สามารถพัฒนากระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่หลากหลายสู่การปฏิบัติในชั้นเรียน และเชื่อมโยงกับท้องถิ่นทั้งเชิงวิชาการและการงานอาชีพตามความต้องการของโรงเรียนและท้องถิ่น ส่งผลให้ครู นักเรียน และชุมชนสามารถแก้ปัญหา พัฒนาการเรียนการสอนได้ด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ตามบริบทของชุมชนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเป็นลำดับอย่างต่อเนื่องในแต่ละปีที่ผ่านมา โดยเริ่มดำเนินโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 (เดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2565) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 11 โรงเรียน กระจายอยู่ใน จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

                    กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ของเด็กไทย จำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า และโรงเรียนธัมมสิริศึกษานนทบุรี เป็นการจัดกิจกรรมการผลิตสื่อการสอนภาษาไทยที่ทันสมัยให้เหมาะสมกับผู้เรียนโดยใช้โปรแกรม Canva

                    กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิดค้นและเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาตนเอง ครอบครัว โรงเรียนและชุมชน 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลเทศบาลไทรม้า โรงเรียนวัดบางรักษ์ใหญ่ (สายอักษรศรี) เป็นการจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ด้วยเทคนิคการเรียนการสอนแบบ Phonics I-STEAM ในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โรงเรียนวัดคลองขุนศรี เป็นการจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะอาชีพให้แก่นักเรียนโดยการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นคือกล้วยมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของโรงเรียน และการพัฒนาต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ให้มีความหลากหลาย และเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการออนไลน์ให้แก่นักเรียนเพื่อเพิ่มทักษะทางอาชีพให้กับนักเรียน

โรงเรียนวัดเสาธงเก่า และโรงเรียนวัดศาลากุล เป็นการจัดกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพนักเรียนด้านทักษะวิชาการ ทักษะวิชาชีพ และทักษะชีวิต เช่น อาชีพแอร์โฮสเตส อาชีพมัคคุเทศก์และผู้นำเที่ยว อาชีพบาร์เทนเดอร์ และอาชีพครูอาจารย์ ให้กับครูและนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอื่น ๆ ตามความต้องการร่วมกันของโรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดคลองเจ้า (แช่มชื่นราษฎร์บำรุง) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์  เปิดโอกาสให้คิดค้นและเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาผ่านการจัดการเรียนรู้ ด้วยกิจกรรมการจัดการขยะ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุด อีกทั้ง โรงเรียน ชุมชน วัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้กับความสำคัญกับการจัดการขยะและพยายามพลักดันให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะในชุมชนเพื่อเตรียมพร้อมรับความเจริญและปัญหาที่จะเกิดจากขยายเมืองในอนาคต

โรงเรียนวัดปรมัยยิกาวาส เป็นการจัดกิจกรรมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวในชุมชนโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.เกาะเกร็ด) เพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ท้องถิ่นโดยได้เพิ่มชุมชนท้องถิ่นตำบลเกาะเกร็ดและคนในชุมชนเกาะเกร็ดมาร่วมพัฒนาอาชีพเพื่อเกิดรายได้ เกิดอาชีพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนชุมชนด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

               โรงเรียนวัดแดง (นนทคุณพิพัฒน์ราษฎร์อุปถัมภ์) และโรงเรียนวัดสิงห์ทอง เป็นการจัดกิจกรรมการฝึกทักษะภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่นเพื่อประกอบอาชีพ และค้าขายขนมไทยในชุมชน และการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ และการให้บริการฝึกทักษะภาษาจีนและญี่ปุ่นเพื่ออาชีพในชุมชน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในการฝึกทักษะภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น และประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต                 

               ตลอดระยะเวลาการจัดโครงการ มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 726 คน แบ่งเป็นมีครูที่ได้รับการพัฒนา จำนวน 124 คน  และนักเรียนจำนวน 602 คน และจากผลการสำรวจความพึงพอใจพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพิ่มขึ้น (SDGs) นับว่าเป็นความร่วมมือที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 17 (Partnerships for the Goals) โดยได้รับความร่วมมือจากบุคลากรภายใต้สังกัดคณะ และส่วนงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขยายโอกาสในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการเข้าร่วมโครงการตลอด 7 ปี และกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนระหว่างสถานศึกษาและหน่วยงานทุกภาคส่วนในพื้นที่ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนรับทราบและเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน จาการจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็กไทย กิจกรรมพัฒนรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อันเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 4



Tag : #ศศsdg4.3.4 #ศศsdg17.2.1 #ศศsdg17.2.2



ข้อมูลจาก : นริศรา มหะหมัด


63 ครั้ง

Address
การให้บริการ

สถิติการเข้าชม
  • วันนี้ : 18 ครั้ง
  • เดือนนี้ : 2797 ครั้ง
  • ปีนี้ : 20174 ครั้ง
  • ทั้งหมด : 45340 ครั้ง
Follow Us

Copyright ©2020 GreenUniversity | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ