เกษตรอยุธยา”ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ตำบลวังยาง”

เขตพื้นที่ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกนาแห้วเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในชุมชนได้ในการสนับสนุนทั้ง ส่งเสริมด้านการผลิต ส่งเสริมด้านการแปรรูป ส่งเสริมด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาดที่ดีขึ้น อีกทั้งยังมีการส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอีกด้วย แต่เนื่องจากราคาแห้วมีการปรับขึ้นปรับลงตามสภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงราคาของปุ๋ยที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนในการผลิตแห้วสูงขึ้นตามมา มีผลให้เกษตรกรได้กำไรน้อยลง

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จึงได้ดำเนินโครงการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ภายใต้การดำเนินงานของ ดร.ศิโรรัตน์ เขียนแม้น และคณะ จากสาขาวิชา
พืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
จึงได้จัดทำโครงการ”ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ตำบลวังยาง” ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 โดยมีเกษตรกร และผู้สนใจเข้าโครงการรวมมากกว่า 50 คน ดำเนินการ 2 โครงการย่อย ได้แก่

โครงการย่อยที่ 1 พัฒนาสูตรทองม้วนแห้ว โดยคัดเลือกวัตถุดิบที่เป็นแห้วอินทรีย์ / มาตรฐาน GAP มาทำเป็นแป้งแห้ว นำแป้งแห้วมาเป็นแทนแป้งข้าวเจ้าในอัตราส่วน 50 เปอร์เซ็นต์ของสูตร และจัดอบรมและติดตามผลการผลิตทองม้วนแห้วสูตรการเพิ่มแป้งแห้ว เพิ่มให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีและเหมาะสม พร้อมทั้ง ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้แก่ผู้ผลิตแห้วแปรรูปในชุมชน

โครงการย่อยที่ 2 ขนมจีบแห้ววังยางผลิตและคัดเลือกแห้วสดให้มีคุณภาพต่อการนำไปใช้ โดยดำเนินการจัดอบรม เรื่องการคัดเลือกแห้วคุณภาพ  ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้แก่ผู้ผลิตแห้วแปรรูป และการทำการตลาดและช่องของผลิตภัณฑ์ขนมจีบแห้ว

เพื่อนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในสถาบันอุดมศึกษา ไปขับเคลื่อนทั้งในภาคการผลิตและบริการในระดับพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานของบัณฑิตที่พึ่งจบการศึกษาและประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ และส่งเสริมการเรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความเข้มแข็งแก่ชุมชน ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ข้อ 4.3.2 และ 4.3.4 และส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิตให้มีคุณภาพและมาตรฐาน การแปรรูปและออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้เป็นที่สนใจของตลาดและเป็นทางเลือกใหม่ แก่ผู้บริโภค ทำให้ได้ฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ และสร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิดกับคนรุ่นใหม่ต่อไป



Tag : #ทอsdg4.3.2 # ทอsdg4.3.4



ข้อมูลจาก : นางสาวศิโรรัตน์ เขียนแม้น


30 ครั้ง

Address
การให้บริการ

สถิติการเข้าชม
  • วันนี้ : 102 ครั้ง
  • เดือนนี้ : 949 ครั้ง
  • ปีนี้ : 5729 ครั้ง
  • ทั้งหมด : 30895 ครั้ง
Follow Us

Copyright ©2020 GreenUniversity | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ